เมื่อวันที่ 25 มกราคา พ.ศ.2564 สำนักคอมพิวเตอร์จัดโครงการอบรมออนไลน์ผ่านทาง Microsoft Teams ในหัวข้อเรื่อง “การคุ้มครองข้อมูลและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลบุคคล”

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล เมื่อฟังแบบเผินๆ ชื่อของ พ.ร.บ. น่ะมุ่งไปที่ “การคุ้มครอง” ข้อมูลส่วนบุคคล แต่หัวใจสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ให้พิจารณาลงไปที่มหาวิทยาลัย คณะ สำนัก นักศึกษา บุคลากร และคณาจารย์ ให้มีการปฏิบัติงานที่มี “มาตรฐาน” ในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและเพียงพอ เมื่อมีความจำเป็นต้องขอใช้ข้อมูลส่วนบุคคล อันจะเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบไปถึงการรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ก่อให้เกิดแนวโน้มให้เกิดผลกระทบเชิงลบหรือความเสียหายในระดับบุคคลหรือมหาวิทยาลัย
โดยวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ สำนักคอมพิวเตอร์ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เผด็จ ก๋าคำ รองอธิการบดี เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมออนไลน์ในครั้งนี้ และในครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่มีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดทำนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล) และ คณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พรบ.ดิจิทัล ปี2562 ฯลฯ เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

เนื้อหาในหัวข้อเรื่อง “การคุ้มครองข้อมูลและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลบุคคล” จะพูดถึงเรื่อง สาระสำคัญ พระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 จะมีเนื้อหาใจความสำคัญดันนี้

• ข้อมูลส่วนบุคคล คือข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งสามารถระบุตัวตนบุคคลนั้น ๆได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

• การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือการเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูล ที่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล

• การเก็บข้อมูลส่วนบุคคล คือให้เก็บรวบรวมเท่าที่จำเป็นและต้องกำหนดระยะเวลาการจัดเก็บภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย

• การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล คือห้ามมิให้ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล

• สิทธิของเจ้าของมูล คือเจ้าของข้อมูลมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลที่เกี่ยวกับตนหรือขอให้เปิดเผย ถึงการได้มาซึ่งข้อมูลที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม

• สิทธิการลบข้อมูลส่วนบุคคล คือเจ้าของข้อมูลมีสิทธิขอให้ดำเนินการ ลบ หรือทำลาย ทำให้ข้อมูลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของได้

• การร้องเรียน เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องเรียนในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลรวมทั้งลูกจ้าง หรือผู้รับจ้างของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ประมวลผลข้อมูลฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนี้

ที่มา : พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เล่มที่ 136 ตอนที่ 69ก วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2562
——————————————————————————————————–
ติดต่อเรา
สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
อาคารสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) อาคาร 10 ชั้น 8
1061 ซอยอิสรภาพ15 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600
โทรศัพท์ 024737000 ต่อ 1722, 1723
เว็บไซต์ : https://cc.bsru.ac.th
อีเมล์ : [email protected]
Line : @ccbsru